ประชุมคณะกรรมการข้อมูลสารสนเทศ

การประชุมคณะกรรมการข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์ปฎิรูปการเรียบนรู้จังหวัดน่าน
ได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยเป็นอย่างดี ให้ส่งข้อมูลภายใน 14ตค.59 และ ประชุมยืนยันข้อมูลในวันที่19ตค.2559

74962 74964 74967

ว่าที่ร้อยตรีสมเดช อภิชยกุล
– กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ ได้จัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ให้กับรร.ขยายโอกาส การจัดการศึกษาการมีงานทำ มีหัวข้อดังนี้

กลไกล/บูรณาการ  เน้นโรงเรียนขยายโอกาส ด้วยเหตุผลงบประมาณ

แผนยุทธศาสตร์

ข้อมูลสารสนเทศ

ท่านรองสมัย     ธนะภาษี  เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการประชุมดังนี้

  1. การจัดการข้อมูลสารสนเทศ
  2. มอบให้แต่ละหน่วยงานช่วยจัดเก็บตามแบบฟอร์มที่แจกให้
  3. ข้อมูลที่จัดทำเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับ และ
    1. ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลการจัดการศึกษาของจังหวัดน่าน นำข้อมูลเป็นข้อมูลฐานข้อมูลในการวางแผนจัดการศึกษาของจังหวัดน่าน เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนด้อยโอกาส  ปัญหาสุขภาพ ฯลฯ
    2. นำเสนอข้อมูลให้ฝ่ายกลไก/บูรณาการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และร่วมกันจัดการศึกษา
    3. นำข้อมูลมาจัดทำแผนจัดการศึกษาจังหวัดน่าน เสนอกศจ.น่าน
  4. ข้อมูลสารสนเทศที่จะจัดเก็บ
    1. ข้อมูลการศึกษาทั่วไป ของจังหวัดน่าน
    2. ข้อมูลเจาะลึกของ 2 อำเภอเป้าหมาย
  5. รายละเอียดข้อมูลดังนี้
  • ข้อมูลประชากรวัยเรียนของจังหวัดน่าน (อายุ  0  –  25  ปี)  ปี พ.ศ.2558
  • ข้อมูลสถานศึกษาในจังหวัดน่านจำแนกตามสังกัด
  • ข้อมูลจำนวนนักเรียนในจังหวัดน่านจำแนกตามสังกัด
  • ข้อมูลครูในจังหวัดน่านจำแนกตามสังกัด
  • ข้อมูลห้องเรียนในจังหวัดน่านจำแนกตามสังกัด
  • อัตราส่วนครูต่อนักเรียนในจังหวัดน่านจำแนกตามสังกัด
  • อัตราส่วนนักเรียนต่อห้องเรียนในจังหวัดน่านจำแนกตามสังกัด
  • ข้อมูลจำนวนสถานศึกษาในจังหวัดน่านจำแนกตามขนาดของจำนวนผู้เรียน ปีการศึกษา 2558
  • ข้อมูลจำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับการศึกษาตามสังกัด ปีการศึกษา  2558
  • จำนวนนักเรียนในจังหวัดน่านจำแนกตามชั้นเรียน ปีการศึกษา  2558
  • จำนวนห้องเรียนในจังหวัดน่านจำแนกตามชั้นเรียน ปีการศึกษา  2558
  • ข้อมูลจำนวนนักเรียนย้อนหลัง ปีการศึกษา  2557- 2554
  • จำนวนครูและบุคลากรในจังหวัดน่าน ปีการศึกษา   2558
  • ข้อมูลจำนวนนักเรียนออกกลางคัน ปีการศึกษา  2558
  • ข้อมูลจำนวนนักเรียนพิการในจังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2558
  • ข้อมูลจำนวนนักเรียนด้อยโอกาสในจังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2558
  • ข้อมูลจำนวนผู้เรียนการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดน่าน  ปีงบประมาณ  2557 – 2559
  • ข้อมูลจำนวนผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาอาชีพในจังหวัดน่าน ปีงบประมาณ  2557 – 2559
  • ข้อมูลการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัย (กิจกรรมส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน) ในจังหวัดน่าน ปีงบประมาณ  2557 – 2559
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2557
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2557
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2557
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา-พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา-พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา-พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O – NET)  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 ปีการศึกษา   2554-2558
  • ข้อมูลผลทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   ปีการศึกษา   2558 -2555
  • ข้อมูลผลทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ความสามารถด้านภาษา ปีการศึกษา   2555-2558
  • ข้อมูลผลทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ความสามารถด้านคิดคำนวณปีการศึกษา   2555-2558
  • ข้อมูลผลทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ความสามารถด้านเหตุผลปีการศึกษา   2555-2558
  • ข้อมูลผลทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ความสามารถด้านอ่านเขียนเขียนได้ปีการศึกษา   2555-2558
  • จำนวนเด็กด้อยโอกาสในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ.2558
  • จำนวนเด็กพิการในจังหวัดน่าน ปีการศึกษา  2558
  • ข้อมูลการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในจังหวัดน่าน ปีการศึกษา  2558
    ชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6
  • ข้อมูลนักเรียนขาดแคลนเครื่องเขียน แบบเรียน เสื้อผ้า  ปีการศึกษา  2558
    ชั้นอนุบาลปีที่  1-2
  • ข้อมูลนักเรียนขาดแคลนเครื่องเขียน แบบเรียน เสื้อผ้า  ปีการศึกษา  2558
    ชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6
  • ข้อมูลนักเรียนขาดแคลนเครื่องเขียน แบบเรียน เสื้อผ้า  ปีการศึกษา  2558
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-6
  • จำนวนนักเรียนในจังหวัดน่านที่มีปัญหาสุขภาพ ปีการศึกษา  2558
    ชั้นอนุบาลปีที่  1- 2
  • จำนวนนักเรียนในจังหวัดน่านที่มีปัญหาสุขภาพ ปีการศึกษา  2558
    ชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6
  • จำนวนนักเรียนในจังหวัดน่านที่มีปัญหาสุขภาพ ปีการศึกษา  2558
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-6
  • จำนวนนักเรียนในจังหวัดน่านที่มีปัญหาสุขภาพ ปีการศึกษา  2558
    ชั้นอนุบาล –  ม.6
  • จำนวนสถานศึกษาจำแนกตามสังกัด
  • จำนวนห้องเรียนของสถานศึกษาเอกขนในจังหวัดน่าน
  • จำนวนนักเรียนของสถานศึกษาเอกขนในจังหวัดน่าน
  • ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ปีการศึกษา  2554 – 2558
  • ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ปีการศึกษา  2558
  • ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ปีการศึกษา  2558
  • ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ปีการศึกษา  2558
  • ผลการประเมินการอ่านของนักเรียน ปีการศึกษา  2558
  • ผลการประเมินการเขียนของนักเรียน ปีการศึกษา  2558
  • ผลการประเมินการคิดคำนวณของนักเรียน ปีการศึกษา  2558
  • ข้อมูลนักเรียนขาดแคลนเครื่องเขียน แบบเรียน  เสื้อผ้า  ปีการศึกษา  2558
  • ข้อมูลนักเรียนด้อยโอกาส ปีการศึกษา  2558
  1. ให้ทุกหน่วยงานส่งงานภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 เพื่อให้ ฝ่ายเลขาฯนำข้อมูลมาประมวลผล
  2. การประชุมเพื่อยืนยันข้อมูล ในที่ประชุมมีมติ ประชุมวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 30 น.
  3. ข้อเสนอแนะ
    1. การประสานงานแต่ละหน่วยงานควรส่งเป็นหนังสือ เป็นทางการเพื่อให้ดำเนินการได้ตามระบบ
    2. แต่ละหน่วยงานควรนำโครงสร้างฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานเพื่อนำมาศึกษาเรียนรู้ด้วยกันนำไปสู่การจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพต่อไป
    3. ข้อมูลประเภทของคนพิการ ควรปรับให้สอดคล้องกับประเภทความพิการตามพรบ.
    4. สำนักพุทธฯ ขออนุญาตเป็นเด็กยากจนทั้งหมด
    5. ฐานข้อมูลโรงเรียน 2 อำเภอ

74974 74975 74976 74977 74978 74979 74980 74981 74982 74983 74984 74985 74986 74987

การประชุมปฎิบัติการสรุปบทเรียนโครงการจังหวัดปฎิรูปการเรียนรู้(ครั้งที่ 3 )

การประชุมปฎิบัติการสรุปบทเรียนโครงการจังหวัดปฎิรูปการเรียนรู้(ครั้งที่ 3 )
จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพของเยาวชน
ณ ห้องไมดาส 1 โรงแรมไมด้าแอร์พอร์ต แจ้งวัฒนะ
วันที่ 18- 20 กันยายน 2559

250203 250205

 

ศูนย์ปฎิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่าน นำโดยว่าที่รต.สมเดช อภิชยกุล รองนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดน่าน
และคณะเข้าร่วมการประชุม ในการประชุมได้จัดให้มีกิจกรรมตามกำหนดการดังนี้
1.เจริญสติ สมาธิ
2.เสวนาโดยจังหวัดนำร่องการจัดการเรียนรู้ ในเรื่อง 1.ข้อกำหนดเวที/บูรณาการ  2. ข้อมูลสารสนเทศ 3. แผนพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งมีจังหวัด ชลบุรี สุรินทร์ เชียงใหม่  ตราด  สุราษฎร์ธานี  ภูเก็ต อำนาจเจริญ ร่วมเสวนา
ให้ผู้ร่วมเสวนาสอบถาม แลกเปลี่ยนความรู้และบันทึกรายละเอียดข้อกำหนดย่อย   จุดเด่นที่ได้เรียนรู้(what How Why)และ จุดเด่นที่ได้เรียนรู้(what How Why) ของตนเอง
และให้รวมกลุ่มจังหวัด นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอดทั้งวันมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังเคราะห์ และสรุปร่วมกันทั้ง 3 ระบบ บันทึกเป็นการเรียนรู้ของจังหวัด

439981 439982

  ซึ่งในการนำเสนอจังหวัดน่านได้มีโอกาสในการนำเสนอกิจกรรมของศูนย์ปฎิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่านพร้อมให้ดูVTR ที่ได้ดำเนินการกิจกรรมของศูนย์ฯไปแล้ว

57990

คลิกดูได้จากใบงานที่ 2  https://drive.google.com/drive/folders/0B4XhD_Bs_zAVWFh0WlYtbnZQNG8

3.จัดBMK โดยจัดกลุ่มตามความสมัคร ให้ตั้งคำถามตามข้อกำหนด มีจังหวัดนำร่องเป็นเจ้าของตลาด มาตอบคำถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากนั้นให้รวมกลุ่มตามจังหวัด (Home Group)และนำสิ่งที่ได้มากำหนดเป็นแผน/แนวทาง/วิธีการดำเนินงานในระยะต่อไปของจังหวัดทั้ง 3 องค์ประกอบ/ระบบ

      192443 57992

คลิกดูได้จากใบงานที่ 4 https://drive.google.com/drive/folders/0B4XhD_Bs_zAVWFh0WlYtbnZQNG8

สามารถดาวโหลดเอกสารประกอบการประชุมที่ https://drive.google.com/drive/folders/0B4XhD_Bs_zAVWFh0WlYtbnZQNG8

รูปภาพ

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดน่าน
องค์กร……….องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน……….จังหวัด………น่าน………….
เลขที่ข้อตกลง………58-00018……………..
รายงานงวดที่…1…จากเดือน………ตุลาคม 2558……….ถึงเดือน……..มิถุนายน 2559…….

ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร

1. ข้อเสนอโครงการโดยย่อ
• เป้าประสงค์
เด็กและเยาวชนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมการศึกษาในจังหวัดน่าน จำนวน 5,000 คน ได้รับการพัฒนาด้านทักษะและการเรียนรู้ โดยมีกลไกของจังหวัดสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
• วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศสำหรับการวางแผนและติดตามการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เด็กและเยาวชนจังหวัดน่าน
2. เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือการจัดการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนจังหวัดน่าน ที่มีการจัด องค์ประกอบและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานร่วมกัน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อพัฒนากระบวนการเชื่อมโยงกลไกและข้อมูลนาสู่การวางแผนและกำกับติดตามการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ เกิดแผนการพัฒนายกระดับการจัดการศึกษาของจังหวัด
• ผลผลิต/ผลลัพธ์
1. มีข้อมูลและระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนและติดตามการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เด็กและเยาวชนจังหวัดน่าน
2. มีสมัชชาการศึกษาจังหวัดหรือกลไกความร่วมมือของจังหวัดที่มีการจัดองค์ประกอบและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานร่วมกัน สามารถทำงานได้ต่อเนื่องไม่จบเพียงโครงการสิ้นสุด
3. เด็กและเยาวชนในจังหวัดน่านอย่างน้อย 30,000 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
4. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดที่เกิดจากการใช้ข้อมูลและการทำงานร่วมกันของกลไกปฏิรูป การเรียนรู้จังหวัด

2. กิจกรรมที่ดำเนินการในงวดนี้

กิจกรรมตามแผน(ในงวดนี้) ได้ทำเมื่อวันที่

ผลสรุปที่สำคัญของการทำกิจกรรม

กลุ่มและจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม

อธิบายผลที่เกิดขึ้น

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ
ครั้งที่ 1 22ม.ค.2559 คณะกรรมการ 11 คน คณะทำงาน 1 คน 1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 การจัดทำข้อมูลมีข้อมูลทั่วไปของจังหวัดน่านแต่ต้องมีการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่
1.2 อยู่ระหว่างหาทีมงานจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม
2. ได้ตัวแทนเข้าร่วมประชุมการจัดการเรียนรู้เพื่อ การมีงานทำ 27ม.ค.59 โดย สสค. จำนวน 3 คน คือ นายสมเพ็ชร สิทธิชัย นายสมเกียรติ รัตนวิฑูรย์ นางระเบียบ สิทธิชัย
3. ได้แนวทางและเป้าหมายการดำเนินงาน การจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำที่ชัดเจน และมอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมโครงการเพิ่มเติม
4. มอบหมายให้นายเกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง ประสานงาน เพื่อเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
และให้นายสมเพ็ชร สิทธิชัย จัดทำข้อมูลและสรุป ผลการดำเนินงานโครงการเพื่อนำเสนอ
ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 25 ก.พ. 2559 คณะกรรมการ 11 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศอยู่ระหว่างดำเนินการและพบปัญหาจากการดำเนินงานรวบรวมข้อมูลเนื่องจากคณะทำงานเป็นข้าราชการมีงานประจำทำให้การดำเนินงานล่าช้า
1.2 มีการประสานงานเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย เป็นการภายใน
2. อยู่ระหว่างจัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนาการศึกษา “การจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ” ของโรงเรียนเป้าหมาย
3. ร่วมพิจารณาข้อมูลและสรุปผลการดำเนินที่จะนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
พิเศษ 9 ก.พ. 2559 คณะกรรมการ 13 คน
คณะทำงาน 1 คน
เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
1. รับทราบนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
1.1 นโยบายจังหวัดน่าน(ทั่วไป)
1.2 นโยบายด้านการศึกษา ให้จัดการศึกษาเชื่อมโยงกับด้านอื่นๆและมุ่งให้เรียนรู้เพื่อการมีงานทำ
2. นำเสนอข้อมูลและผลการดำเนินงานโครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดน่าน
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านให้คณะกรรมการโครงการได้ดำเนินการอย่างจริงจังไม่ต้องรอราชการและทำให้เกิดกลุ่มฮักเมืองน่านด้านการศึกษา
ครั้งที่ 3 3 มี.ค. 2559 คณะกรรมการ 11 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 มีแผนพัฒนาการศึกษา”การจัดการเรียนรู้เพื่อ การมีงานทำ” ของ ร.ร.เป้าหมาย 12 โรง
1.2 มีการกำหนดเครือข่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น คือ ร.ร.มัธยมศึกษาในเขตบริการของอำเภอเป้าหมายดำเนินการ
1.3 คณะทำงานได้จัดทำเครื่องมือการเก็บข้อมูลโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม
2. ทราบแนวทางและนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาแห่งเอเชีย จากผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมนำมาเสนอให้ทราบ
3. ได้ผู้แทนเข้าประชุมร่วมกับ สสค.เรื่องนักรณรงค์สื่อสารยุคใหม่ จำนวน 3 คน ตัวแทนจากประชาสัมพันธ์จังหวัด / สวท.จ.น่าน /และ สพป.น่าน เขต 2
ครั้งที่ 4 1 เม.ย. 2559 คณะกรรมการ 13 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 คณะทำงานนำเสนอเครื่องมือการเก็บข้อมูลโรงเรียนและแนวทางการดำเนินงาน
1.2 จัดทำรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานการจัด การเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ
2. รับทราบผลการประชุมนักรณรงค์สื่อสารยุคใหม่ โดย ดร.ระเบียบ สิทธิชัย
3. ได้ผู้แทนเข้าประชุมถอดบทเรียนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัด ของ 15 จังหวัด 4-6 เม.ย. 59 โดยสสค.จำนวน 3 คน
ครั้งที่ 5 11 เม.ย. 2559 คณะกรรมการ 11 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 การจัดเก็บข้อมูล ของ ร.ร.เป้าหมาย 12 โรงอยู่ระหว่างดำเนินการ
1.2 ได้ปรับเพิ่มเติมรายละเอียดเครื่องมือเก็บข้อมูลโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม
2 รับทราบผลการประชุมถอดบทเรียนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัด ของ 15 จังหวัดและได้แนวทางการ Benchmarking การดำเนินงาน
3 ทราบความก้าวหน้าในการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ และปัญหาจากการดำเนินงานรวบรวมข้อมูลเนื่องจากผู้ให้ข้อมูลไม่ค่อยให้ความร่วมมือ
พิเศษ 11 เม.ย. 2559 คณะกรรมการ 10 คน
คณะทำงาน 1 คน
ผู้บริหารโรงเรียน 12 คน
ครูผู้สอน 12 คน
ประชุมกลุ่มเป้าหมายดำเนินการ
1. ชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานโครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่และการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ การดำเนินงานลงสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียน
2. แนวทางการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย การประสานงาน และการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และจำเป็น
3. การจัดทำโครงการและกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ
ครั้งที่ 6 9 พ.ค. 2559 คณะกรรมการ 10 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 การดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเป้าหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน
1.2 การจัดเก็บข้อมูล ของ ร.ร.เป้าหมาย 12 โรง ปัญหาและข้อจำกัดในการปฏิบัติจริง
2. แนวทางการดำเนินงานจัดเวทีเสวนาการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ ระดับ โรงเรียน ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด และการมอบหมายงานแก่คณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อดำเนินการ
3. แนวทางการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายอาชีวศึกษาในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ 108 อาชีพ
ครั้งที่ 7 31 พ.ค. 2559 คณะกรรมการ 10 คน 1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของโครงการ
1.2 สรุปผลการจัดเวทีเสวนา
– ด้านการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะทำงาน
– ผลที่เกิดจากเวทีเสวนาทั้งระดับโรงเรียนและระดับอำเภอ
1.3 มอบหมายงานในการสรุปผลการดำเนินงานการจัดเวทีเสวนาทั้งหมด
2. การสรุปงานและเขียนบทความเพื่อเสนอ สสค. มอบหมายให้นายสมเพ็ชร สิทธิชัย
3. การรายงานการดำเนินงานโครงการประจำงวดด้านการเงินมอบหมายให้ จนท.อบจ.น่าน ที่รับผิดชอบฝ่ายการเงินโครงการ ด้านวิชาการมอบเลขานุการและ ดร.ระเบียบ สิทธิชัย
ครั้งที่ 8 5 มิ.ย. 2559 คณะกรรมการ 7 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ
1.1 การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำของโรงเรียน 12 โรง
1.2 การกำกับติดตามการดำเนินงานระดับโรงเรียนและการเบิกจ่ายงบประมาณที่สนับสนุนกิจกรรม
2. แนวทางการดำเนินงานโครงการ
2.1 การเตรียมการสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
2.2 การดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ การกำกับติดตาม การคัดเลือกกิจกรรมเด่นของโรงเรียน
2.3 การประสานการดำเนินงานกับเครือข่ายอาชีวศึกษา
2. การประชุมด้านการจัดทำฐานข้อมูล
ครั้งที่ 1 2 ก.พ.2559 คณะกรรมการ 6 คน
คณะทำงาน 1 คน
1. การรวบรวมข้อมูลที่ดำเนินการไว้เดิม
2. การกำหนดกรอบการดำเนินงาน
3. การเสนอแต่งตั้งคณะทำงานเพิ่มเติม
ครั้งที่ 2 11 พ.ค. 2559 คณะกรรมการ 8 คน
คณะทำงาน 1 ท่าน
คณะวิทยากร 5 ท่าน
คณะเข้าร่วมประชุม 11 คน
1. การชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานระบบข้อมูลสารสนเทศของโครงการ
2. การจัดทำเครื่องมือและปรับปรุงเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล
ครั้งที่ 3 11 พ.ค. 2559 คณะกรรมการ 8 คน
คณะวิทยากร 5 คน
ครูผู้รับผิดชอบระบบข้อมูลโรงเรียนเป้าหมาย 12 คน
1. การชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานระบบข้อมูลสารสนเทศของโครงการ
2. ก1. โรงเรียนเป้าหมายจำนวน 12 โรงเรียนมีระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกับ สสค.ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียน
2. มีคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลของจังหวัดตามประกาศของ อบจ.น่าน เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานระบบข้อมูลโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
3. จัดเวทีเสวนาการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับโรงเรียน
ระดับจังหวัด โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 27 พ.ค. 2559 คณะกรรมการ 10 คน
ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา 400 คน
ประเด็น “เดินหน้าการศึกษาน่าน”
1. เป็นกิจกรรมเวทีเสวนาภาคเช้า(เวทีกลาง) ที่มีผู้ร่วมเสวนาบนเวที จำนวน 7 คน ผู้ดำเนิน 1 คน คือ
1) นายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
2) ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค.
3) นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายก อบจ.น่าน
4) นายชูเกียรติ ด่านธนทรัพย์ ศธ.จ. น่าน
5) รศ.ดร.คมสันต์ อำนวยสิทธิ์ รอง อธิการบดี มทร.จ.น่าน
6) น.ส.ปภารัตน์ สายวงค์ ผู้แทนครู รร.สตรีศรีน่าน
7) นายธนากร แสนคำสอ ผู้แทนนักเรียน รร.นคศ.
8) ดร.บังอร เสรีรัตน์ จาก สสค. ผู้ดำเนินการเสวนา
2. ได้เสนอมุมมองด้านการศึกษาของจังหวัดน่าน และแนวทางการจัดการศึกษาสู่ ศตวรรษ ที่ 21
คณะกรรมการ 10 คน
ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา 60 คน ประเด็น “การจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ”
1. เป็นกิจกรรมเวทีเสวนาในภาคบ่าย(เวทีย่อย) มีผู้ร่วมเสวนา ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. ว่าที่ รต.สมเดช อภิชยกุล รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยปัญญาภิวัตน์ นายสมัย ธนะศรี รอง ผอ.สพป.น่าน เขต 2 และผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลากหลายอาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการเสวนาโดย นาสมเพ็ชร สิทธิชัย เลขานุการโครงการฯ
2. ได้ถึงมุมมองทางด้านการศึกษาและความพร้อมของคนจังหวัดน่านในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำในศตวรรษที่ 21
คณะกรรมการ 10 คน
ระดับอำเภอ อำเภอสันติสุข
2 มิ.ย. 2559
คณะกรรมการ 9 คน
ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา 50 คน
ประเด็น “การจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ”
1. เป็นกิจกรรมเวทีเสวนา มีผู้ร่วมเสวนา ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น นายอนุชา สุวรรณ นายอำเภอสันติสุข ว่าที่ รต.สมเดช อภิชยกุล ประศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่าน นายภาวัต สัตตยวงศ์ กศจ.น่าน ภาคประชาชน และผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลากหลายอาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการเสวนาโดย นายสมเพ็ชร สิทธิชัย เลขานุการโครงการฯ
2. ได้รับทราบมุมมองทางด้านการศึกษาและความพร้อมของจังหวัดน่านในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำและการเตรียมการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำในศตวรรษที่ 21
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาอำเภอสันติสุข
อำเภอทุ่งช้าง
8 มิ.ย. 2559
คณะกรรมการ 8 คนคณะทำงาน 7 คน
ผู้เข้าร่วมเสวนา 60 คน
1. เป็นกิจกรรมเวทีเสวนา มีผู้ร่วมเสวนา ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น นายหาญชัย ไชยวงศ์ ปลัดอาวุโสปฏิบัติหน้าที่นายอำเภอทุ่งช้าง ว่าที่ รต.สมเดช อภิชยกุล ประศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่าน นายสันต์ อินทะรังสี สจ.น่าน นายวันชาติ สารใจ รองผอ.วิทยาลัยการอาชีพปัว นายสมเจตน์ วิมลเกษม ประธานชมรมครูภูมิปัญญาจังหวัดน่าน และผู้เข้า ร่วมเสวนาจากหลากหลายอาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการเสวนาโดย นายสมเพ็ชร สิทธิชัย เลขานุการโครงการฯ
2. ได้รับทราบมุมมองทางด้านการศึกษาและความพร้อมของจังหวัดน่านในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำและการเตรียมการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำในศตวรรษที่ 21
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาอำเภอทุ่งช้าง
ระดับโรงเรียน 1.โรงเรียน มณีพฤกษ์
2 มิ.ย. 2559
คณะกรรมการ 2 คน
ผู้เข้าร่วมเสวนา 40 คน
1. ได้ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่
1.1 การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
1.2 การเรียนรู้โดยการอยู่ร่วมกับสังคมและการอยู่กับป่าอย่างมีความสุข
1.3 การจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำและช่วยเหลือตนเองได้ด้านท่องเที่ยวและค้าขายผลิตภัณฑ์กาแฟมณีพฤกษ์
2. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนมณีพฤกษ์ จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
2.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 98 (บ้านงอบ)25 พ.ค. 2559 คณะกรรมการ 5 คน
ผู้เข้าร่วมเสวนา 35 คน
1. ได้ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่
1.1 การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเพื่อตอบสนอง ความต้องการการมีงานทำของนักเรียนในอนาคต
1.2 การเรียนรู้โดยการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเกิดความต้องการการมีงานทำและช่วยเหลือตนเองได้
2. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 98 (บ้านงอบ)จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
3.โรงเรียน บ้านน้ำเลียง
25 พ.ค. 2559
คณะทำงาน 2 คน ผู้เข้าร่วมเสวนา 35 คน 1. ได้ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่
1.1 การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเพื่อตอบสนอง ความต้องการการมีงานทำของนักเรียนในอนาคต
1.2 การเรียนรู้โดยการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเกิดความต้องการการมีงานทำและช่วยเหลือตนเองได้
2. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำเลียง จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
4.โรงเรียน บ้านปางแก
26 พ.ค. 2559
คณะทำงาน 2 คน ผู้เข้าร่วมเสวนา 30 คน 1. ได้ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่
1.1 เข้าใจสภาพความต้องการของเด็กนักเรียน เพิ่มหลักสูตรการเรียนภาษา ต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการมีงานทำของเด็กภายในโรงเรียน และรวมไปถึงความรู้ด้านเทคโนโลยี
1.2 บุคลากรทางการศึกษาเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียนของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีพื้นฐานครอบครัว และสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อความต้องการการมีงานทำที่แตกต่างกันออกไป
2. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนบ้าน ปางแกจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
5.โรงเรียนชุมชนบ้าน ทุ่งช้าง
26 พ.ค. 2559
คณะกรรมการ 1 คน
คณะทำงาน 2 คน
ผู้เข้าร่วมเสวนา 35 คน
1. เด็กนักเรียนในโรงเรียนยังต้องการการส่งเสริมด้านการมีงานทำ
2. ครู ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน แนะนำในการพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งช้างจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
6.โรงเรียน ชุมชนศิลาแลง
31 พ.ค. 2559
คณะกรรมการ 1 คน
คณะทำงาน 2 คน
ผู้เข้าร่วมเสวนา 40 คน
1. ได้ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่
1.1 การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัด การเรียนการสอนในสถานศึกษาเพื่อตอบสนอง ความต้องการการมีงานทำของนักเรียนในอนาคต
1.2 การเรียนรู้โดยการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเกิดความต้องการการมีงานทำและช่วยเหลือตนเองได้
2. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนชุมชนศิลาแลงจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
7. โรงเรียน ป่าแลวหลวง
23 พ.ค. 2559
คณะกรรมการ 3 คน 1. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะ “ประชารัฐ” โดยให้การสนับสนุนในด้าน คน(Man) ทุนหรืองบประมาณ(Money) วัสดุอุปกรณ์(Material) และการบริหารจัดการ(Management)
2. บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน ให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนชุมชน ศิลาแลงจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
8.โรงเรียน บ้านดู่พงษ์
24 พ.ค. 2559
คณะกรรมการ 3 คน 1. การจัดการเรียนรู้ควรเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วม
2. ภาครัฐและเอกชน ให้การสนับสนุน
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนบ้านดู่พงษ์จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
9.โรงเรียน ราษฎร์รัฐพัฒนา
19 พ.ค. 2559
1. ทุกกลุ่ม ทุกหน่วยงาน ชุมชน วัด ล้วนมีส่วนในการจัดการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. กลุ่มงานวิชาการโรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกันกับ บ้าน วัด และโรงเรียน และจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อมุ่งเน้นในส่วนทักษะพื้นฐานทางด้านอาชีพ
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนราษฎร์รัฐพัฒนาจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
10. โรงเรียน ศรีนาม่าน
19 พ.ค. 2559
คณะกรรมการ 2 คน 1. ได้ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่
1.1 การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเพื่อตอบสนอง ความต้องการการมีงานทำของนักเรียนในอนาคต
1.2 การเรียนรู้โดยการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเกิดความต้องการการมีงานทำและช่วยเหลือตนเองได้
2. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนศรีนาม่านจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
11.โรงเรียนบ้านห้วยแฮ้ว
19 พ.ค. 2559
1. จัดรายวิชาแนะแนว เพื่อแนะนำลักษณะกาทำงานของแต่ละอาชีพที่มีความต้องการในตลาดแรงงานภายในอำเภอ และจังหวัด
2. เสริมสร้างทักษะที่สำคัญให้แก่นักเรียน 3 ด้าน คือ 1.ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ให้เป็น แก้ไขปัญหาได้ และมีความคิดสร้างสรรค์ 2.ทักษะชีวิตและอาชีพ มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบ มีทักษะทางสังคมและเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม 3.ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี สามารถใช้สื่อหรือเทคโนโลยีในการค้นหาข้อมูลรวมทั้งการผลิตสื่อ หรือเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์
3. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนบ้าน ห้วยแฮ้ว จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
12.โรงเรียนสามัคคีวิทยา(เทศบาลบ้านพระเนตร)
14 พ.ค. 2559
คณะกรรมการ 4 คน 1. จัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำใน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.จัดในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ทักษะอาชีพ ทั้งที่โรงเรียนดำเนินการร่วมกับชุมชน และดำเนินร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน 2.จัดในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 3.จัดในกิจกรรมชุมชน 4.จัดในโครงการการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD)โดยการจัดอบรมอาชีพการดุนโลหะ และแหล่งเรียนรู้อาชีพชุมชน
2. โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ติดตามผลการจัดการเรียนรู้ และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของโรงเรียน
3. โรงเรียนร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงาน/องค์กร ในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ
4. ได้คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียนสามัคคีวิทยา(เทศบาลบ้านพระเนตร) จากการมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วน

2.สรุปงบประมาณประจำงวด
รวมรายรับ 900,000 บาท รวมรายจ่าย 594,636 บาท

3.ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ
3.1 ปัญหาในติดต่อการประสานงานกับเครือข่ายคณะทำงาน หน่วยงานและองค์ต่างๆ เนื่องจากบางหน่วยงานยังให้ความสำคัญน้อย
3.2 การดำเนินกิจกรรมหลายๆ กิจกรรมในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มตามศักยภาพ ประกอบกับคณะทำงานส่วนใหญ่มีภาระหน้าที่ในงานประจำ ซึ่งไม่สอดรับกับการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงระยะเวลาที่มีการขับเคลื่อน/ดำเนินกิจกรรม
4.ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้างต้น
– ควรมีการวางแผนการทำงานให้ชัดเจน เพื่อเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และสอดรับกับแผนการเบิกจ่าย งบประมาณ
– ควรมีการซักซ้อมแนวทางการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม เพื่อให้คณะทำงานได้เกิดความเข้าใจ มีความชัดเจนในด้านข้อมูลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนที่จะกำหนดการเสวนา หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มบุคคล/วงเสวนา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินกิจกรรม
5.แผนงาน/กิจกรรมที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
( ) ตามแผนเดิมที่ระบุในข้อเสนอโครงการ
(/) มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ (ระบุ กิจกรรม/รายละเอียด/ระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน)
โครงการ ข้อ 12 งบประมาณ หมวดกิจกรรม ที่ 2 พัฒนากลไกความร่วมมือการจัดการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน รายละเอียด ข้อ 2 ติดตั้งกลไกปฏิรูประดับจังหวัดโดยตั้งคณะกรรมการและศูนย์ประสานงานเขตปฏิรูปการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนเป็น คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาโรงเรียน คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาตำบล และคณะกรรมการสมัชชาการศึกษาอำเภอ และที่ตั้งของสมัชชาการศึกษา โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม
6.โครงการเป็นแหล่งดูงาน ต้นแบบ หรือเผยแพร่นวัตกรรม
( /) ไม่มีการดูงาน เป็นต้นแบบหรือเผยแพร่นวัตกรรมให้กับโรงเรียน/หน่วยงานอื่น
( ) มี จำนวน………..ครั้ง ได้แก่ (ให้รายละเอียด)……………….โรงเรียน…………………………..

PLC สพป.น่าน เขต 2

วันที่ 25 ก.ค 58 ณ โรงเรียนบ้านนาวงศ์ อ.ปัว

กุญแจ 5 ดอก ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเข้าสู่อาเซียน

กุญแจ 5 ดอก ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเข้าสู่อาเซียน
การปฏิรูปการศึกษาที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ในห้องเรียน จะต้องอยู่ในโรงเรียน จะต้องอยู่ระหว่างครูกับนักเรียนเท่านั้น ขึ้นอยู่กับวิธีสอนที่ถูกต้องของครู ขึ้นอยู่กับวิธีเรียนของนักเรียน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูมอบหมายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการกระทำ ขึ้นอยู่กับการจัดเนื้อหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน ขึ้นอยู่กับวิธีทดสอบวัดผลความรู้ของผู้เรียนที่ถูกต้อง เท่านั้น
มีอยู่เพียง 5 ตัวปัญหาเท่านั้นเองที่จะต้องแก้ไข
สาเหตุพอประมวลได้ 5 ประการ เพื่อเป็นกุญแจเปิดไปสู่ทางแก้ปัญหา ได้ดังนี้
1.ปัญหาที่เกิดจากวิธีการสอนที่ผิดพลาดของครู
2.ปัญหาที่เกิดจากวิธีเรียนที่ผิดพลาดของนักเรียน
3.ปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะวิชา
4.ปัญหาที่เกิดจากการวัดผลการศึกษา ที่ใช้เครื่องมือวัดผลที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะวิชา เลิกใช้ข้อสอบปรนัยแบบฟุ่มเฟือย การไม่ใช้ข้อสอบอัตนัย และใช้เกณฑ์การให้คะแนนที่ไม่เหมาะสมกับวัยและช่วงชั้นของผู้เรียน
5.ปัญหาที่เกิดจากหลักสูตรการศึกษาที่ไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน และสัมพันธ์กับวิทยาการในอนาคต

…คลิกอ่านรายละเอียด ที่http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=28277&Key=hotnews